Chapter 6. การกำหนดค่าตัวแปร

การกำหนดชื่อตัวแปร

มีข้อกำหนดดังนี้

  1. ถ้าเป็นตัวแปร Scalar ให้ใช้เครื่องหมาย $ นำหน้า
  2. ถ้าเป็นตัวแปร Arrays ให้ใช้เครื่องหมาย @ นำหน้า
  3. หนังสือที่ตามด้วยเครื่องหมาย $ และ @ ต้องเป็นตัวอักษรเท่านั้น เช่น $a  , @day , ไม่ใช่ $1   หรือ @+day
  4. ไม่ใช่สัญลักษณ์ใดร่วมในตัวแปร เช่น $oho!  @qusetion?
  5. ตัวอักษรตัวเล็กและตัวใหญ่ให้ความหมายเป็นคนละตัวแปร เช่น $Oho กับ  $oho หรือ $Email กับ $email เป็นต้น

กำหนดค่าให้กับตัวแปร Scalar

              การกำหนดค่าให้กับตัวแปร Scalar   จำเป็นต้องมีการนำ Operator เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนี้

Arithmetic Operators การคำนวณ

การกำหนดค่าให้กับตัวแปร สามารถทำได้โดย การคำนวณ เช่น เพิ่มค่า ลดค่า  เป็นต้น
สามารถแบ่งได้ดังนี้

ตัวอย่าง ชื่อ Operator ความหมาย
$a + $b การบวก ผลบวกระหว่าง $a กับ $b
$a - $b การลบ ผลลบของ $a ลบ $b
$a * $b การคูณ ผลคูณระหว่าง $a กับ $b
$a / $b การหาร ผลหารของ $a หาร   $b
$a %$b Modulus ผลหารของ $a หาร   $b โดยปัดเป็นจำนวนเต็ม
$a ** $b ยกกำลัง ผลยกกำลังของ $a ยกกำลัง $b

ตัวอย่าง

กำหนดให้ $a=10 $b=4
ให้คำนวณค่า   $c   ตามเงื่อนไขที่กำหนดในตาราง

เงื่อนไขการคำนวณ กำหนดค่าตัวแปร ผลลัพธ์ (print "$c";)
$a + $b $c = $a + $b 14
$a - $b $c = $a - $b 6
$a * $b $c = $a * $b 40
$a / $b $c = $a / $b 2.5
$a %$b $c = $a %$b 2
$a ** $b $c = $a ** $b 10000

กำหนดค่าให้กับตัวแปร Arrays

 

ดังได้กล่าวไปแล้วเกี่ยวกับลักษณะตัวแปร Array ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
@morebook=("database","internet");

การกำหนดค่าตัวแปรให้กับ Array เราสามารถทำได้โดยการเพิ่มหรือลดค่าตัวแปรได้ดังนี้
@morebook=("database","internet");

โดยเพิ่มค่าเข้าไปในตัวแปร @morebook โดยตรง เช่น
@morebook=("database","internet","PHP","Perl");

หรือเพิ่มเข้าไปในรูปตัวแปร Array
@book=("PHP","Perl");
@morebook=("database","internet");
@morebook=("database","internet",@book);

จะได้
@morebook=("database","internet","PHP","Perl");

การดำเนินการเพิ่มค่าตัวแปร Array เราจะใช้ Function push ดังนี้

การเพิ่มค่า Array

รูปแบบการใช้คำสั่ง Function push

push = (ข้อมูลตัวแปรเก่า,ข้อมูลตัวแปรใหม่);

ตัวอย่างที่ 1

#!/usr/bin/perl
print "Content-type: text/html\n\n";


@morebook=("photo magazine","internet magazine");

push (@morebook,"cartoon","computer magazine");


print "@morebook";

ผลลัพธ์

photo magazine internet magazine cartoon computer magazine

คำอธิบาย

Function push จะเพิ่มค่าตัวแปรให้กับตัวแปรตัวสุดท้าย

ตัวแปร @morebook กำหนดให้มีค่าเท่ากับ
photo magazine internet magazine

Function push จะเพิ่มค่าตัวแปร  cartoon computer magazine
ลงไปในตัวแปร @morebook ในตัวสุดท้าย

ตัวอย่างที่ 2

#!/usr/bin/perl
print "Content-type: text/html\n\n";


@book=("cartoon","computer magazine");


@morebook=("photo magazine","internet magazine");

push (@morebook,@book);


print "@morebook";

ผลลัพธ์

photo magazine internet magazine cartoon computer magazine

คำอธิบาย

Function push จะเพิ่มค่าตัวแปรให้กับตัวแปรตัวสุดท้าย

ตัวแปร @morebook กำหนดให้มีค่าเท่ากับ
photo magazine internet magazine

Function push จะเพิ่มค่าตัวแปร @book ก็คือ  cartoon computer magazine
ลงไปในตัวแปร @morebook ในตัวสุดท้าย

การลดค่า Array

การดำเนินการลดค่าตัวแปร Array เราจะใช้Function pop ดังนี้

รูปแบบการใช้ Function pop

pop = (ข้อมูลตัวแปรเก่า);

ตัวอย่าง

#!/usr/bin/perl
print "Content-type: text/html\n\n";


@morebook=("photo magazine","internet magazine","cartoon","computer magazine");
;

pop (@morebook);

print "@morebook";

ผลลัพธ์

photo magazine internet magazine cartoon

คำอธิบาย

Function pop จะตัดค่าตัวแปรตัวสุดท้ายออก

ตัวแปร @morebook กำหนดให้มีค่าเท่ากับ
photo magazine internet magazine cartoon computer magazine

Function pop จะตัดค่าตัวแปร computer magazine ออกจากตัวแปร @morebook


Copy right Passkorn Roungrong 2000