Operator

        การจัดการข้อมูลจำเป็นต้องใช้ตัว Operator  คงสงสัยว่าตัว Operator จะมาช่วย อย่างไร ลองนึงดูว่าเวลาเราต้องการสืบค้นข้อมูลใดๆ คงไม่ต้องการดูข้อมูลที่มีความหมายน้อย เช่นต้องการดูคนชื่อ ภาสกร ถ้าเป็น ฐานข้อมูลขนาดใหญ่สัก 1 ล้านคน โปรแกรมก็จะค้นคนชื่อ ภาสกร ออกมาเต็มไปหมดเป็น 100 ชื่อ ข้อมูลนี้จึงถือได้ว่ามีความหมายน้อยมาก แต่ถ้ามีการกำหนดลงไปด้วยว่า คนชื่อภาสกร อยู่จังหวัดกาญจนบุรี การศึกษาปริญญาโท เงินเดือนมากกว่า 10000 บาท เราก็จะได้ข้อมูลที่มีความหมายและตรงกับความต้องการมากขึ้น การกำหนดข้อสืบค้นต่างๆเหล่านี้ เราเรียกว่าเป็น การกำหนดอย่างมีเงื่อนไข และสิ่งที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องนำมาใช้ประกอบการกำหนดการสืบค้นอย่างมีเงือนไข นี้ก็คือตัว Operator นั้นเเอง

       ตัว Opertor สามารถแยกได้ 2 ประเภทดังนี้
       1.Relational operator
       2.Bulletin operator

Relational operator ได้แก่

Operator ความหมาย
=
>
<
>=
<=
<>
เท่ากับ
มากกว่า
น้อยกว่า
มากกว่า หรือเท่ากับ
น้อยกว่า หรือเท่ากับ
ไม่เท่ากับ

Bulletin operator ได้แก่

Operator ความหมาย
AND
OR
NOT
และ
หรือ
เป็นเท็จ

         การใช้ตัว Operator ช่วยในการจัดการข้อมูล (เพิ่ม สืบค้น แก้ไข ลบ) อย่างมีประสิทธิภาพถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว จำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขลงไปด้วย สมมุติว่าเราต้องการสืบค้นคนชื่อ ภาสกร การศึกษาปริญญาโท เงินเดือนมากกว่า 10000 บาท จากสถานการณ์เงื่อนไขที่กำหนด ถ้าต้องการให้เป็นจริง คือจะต้องมีข้อมูลทุกเงื่อนไข จะขาดเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งไม่ได้ 
ตัว  Operrator Bulletin ที่ใช้ก็คือ AND แต่ถ้าเรายอมให้เงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งเป็นจริง ไม่จำเป็นต้องเป็นจริงทุกเงื่อนไข เราต้องใช้ตัว Operrator Bulletin "OR" ผู้เขียนพยายามทำให้เห็นภาพมากขึ้น โดยสรุปเป็นตารางดังนี้
 

ความต้องการข้อมูล สถานการณ์ การใช้ Operator ผลลัพธ์ เงื่อนไข
ต้องการข้อมูลครบ สืบค้น ชื่อนายภาสกร 
อยู่จังหวัดกาญจนบุรี 
เงินเดือนมากกว่า 10000
สืบค้น ชื่อนายภาสกร 
อยู่จังหวัดกาญจนบุรี 
AND
(เงินเดือน > 10000)
นายภาสกร 
อยู่จังหวัดกาญจนบุรี 
เงินเดือนมากกว่า 10000
ต้องเป็นจริง
ทั้งสองอย่าง
ไม่ต้องครบก็ได้ สืบค้น ชื่อนายภาสกร อยู่จังหวัดกาญจนบุรี เงินเดือนมากกว่า 10000  สืบค้น ชื่อนายภาสกร  อยู่จังหวัดกาญจนบุรี 
OR
(เงินเดือน > 10000)
นายภาสกร อาจจะอยู่จังหวัดกาญจนบุรีก็ได้ 
เงินเดือนอาจจะมากกว่า10000 ก็ได้
ต้องเป็นจริง
อย่างใดอย่างหนึ่ง

เงื่อนไขการใช้ Bulletin operator
         การใช้ Operator จัดการข้อมูลให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและประสิทธิภาพ จำเป็นต้องทำความเข้าใจตรรกเสียก่อน การอธิบายหลักการตรรก logic เป็นเชิงพรรณายากที่จะบรรยายได้ ผู้เขียนจึงขออธิบายในรูปตารางดังนี้
 

Operator

เงือนไข

ตัวอย่าง

ผลลัพธ์

AND

T AND T 
F AND T 
T AND F
F AND F

(1=1) AND (2=2)
(1>1) AND (2=2)
(1=1) AND (2<2)
(1<>1) AND (2<>2)

T
F
F
F

OR

T OR T
T OR F
F OR T
F OR F

(1=1) OR (2=2)
(1=1) OR (2<>2)
(1>1) OR (2=2)
(1>1) OR (2>2>

T
T
T
F

NOT

T
F

1=1
2<>2

F
T

          F = เท็จ
          T = จริง

         Operator นอกจากจะเป็นตัวช่วยในการสืบค้นข้อมูลแล้ว ยังนำมาช่วยในการแก้ไขและลบข้อมูลได้อีกด้วย การนำตัว Operator ไปช่วยในงานจัดการข้อมูลต่างๆ จะขอกล่าวในตอนต่อไป
      Tip การใช้ตัว Opertor ให้มีประสิทธิภาพนั้นผู้เรียนจำเป็นต้องเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องตรรก หรือ Logic ให้ดีก่อน ถ้าเข้าใจดีแล้วก็จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Copyright By Passkorn Roungrong 2000